เทคนิคการใช้ฟิล์ม Green Duochrome

1916 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ทดลองเรียนรู้ | การเล่นสนุก | ไม่เหมือนใคร

Green Duochrome นับว่าเป็นฟิล์มที่ชาเลนจ์ที่สุดสำหรับตอนนี้เลยก็ว่าได้ แต่ถ้าจับทางได้ก็คงไม่มีอะไรยากเกิน...จริงไหมครับ ฟิล์มรุ่นนี้มีข้อดีมากๆ อยู่นั่นคือ มันช่วยเพิ่มมิติให้ภาพถ่ายสถาปัตยกรรม, ภาพ abstract และภาพ portrait ได้เป็นอย่างดี และเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด... บทความนี้จึงได้รวบรวมเอาเคล็ดลับและคำแนะนำจากเหล่าครีเอเตอร์ฝีมือดีมาไว้ให้ศึกษาเรียบร้อยแล้ว ลองติดตามกันได้เลยครับ

ก่อนอื่นขอแวะเล่าถึงวิธีการผลิตฟิล์มรุ่นนี้กันก่อน

โพลารอยด์ได้ทดลองใช้ฟิล์มขาวดำปกติเป็นโครงสร้างพื้นฐาน แล้วผสมสีต่างๆ เข้าไปเพื่อสร้างสี duochrome แบบใหม่ขึ้นมา จนมาลงเอยที่สีเหลืองกับสีน้ำเงินเขียว (Cyan) นั่นเอง

อาจจะฟังดูง่ายแต่ความเป็นจริงก็คือ... สูตรเคมีใหม่นี้ยังมีความท้าทายซ่อนอยู่ และบางส่วนก็ยังอยู่ในระหว่างขั้นตอนการทดลองเพื่อพัฒนาต่อไป โดยความท้าทายที่ว่าคือ...มีแนวโน้มที่สารแต่งสีภายในจะทำปฏิกิริยากับ normal paste ซึ่งอาจทำให้เกิดจุดด่างเล็กๆ กระจายบนภาพ ทีมพัฒนาจึงเติมสารลดแรงตึงผิวเข้าไปเพื่อช่วยลดเอฟเฟกต์ดังกล่าว แต่ก็มีผลข้างเคียงบางอย่างขึ้นอีก และจากนี้ทีมพัฒนาก็ยังคงสนุกกับการทดลองและความท้าทายต่อไป

Keep it cool.

ถ่ายภาพ Abstract กับ Sarah Eiseman

Sarah Eiseman ช่างภาพ/ผู้กำกับ/นักเขียนที่มีสไตล์การถ่ายภาพเฉพาะตัวสูงจากแอลเอ งานของเธอมีทั้งความเซอร์เรียลและ abstract สุดๆ ในขณะที่ยังคงความสวยงามและเข้าถึงไม่ยากอีกด้วย และนี่คือเคล็ดลับการใช้ Green Duochrome ในการถ่ายภาพ abstract ของเธอ (กล้องที่ใช้ Polaroid Now+)

01

วาดเส้นด้วยแสง

Light painting เป็นเทคนิคที่เวิร์คมากสำหรับฟิล์มรุ่นนี้ มันให้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจมากโดยเฉพาะเมื่อใช้แอพฯ Polaroid ในการถ่าย จากรูป...เธอใช้ไฟฉายอันเล็กๆ วาดเส้นแสงไปรอบๆ ตัวแบบ และตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ให้อยู่ที่ประมาณ 15-20 วินาที

Keep it cool.

02

ถ่ายภาพซ้อน (ไม่ใช้แฟลช)

Double Exposures เป็นอีกเทคนิคที่เธอแนะนำว่าเล่นกับฟิล์มรุ่นนี้ได้สนุกมาก เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยมควรปิดแฟลชขณะถ่าย และดีไซน์ให้ทั้งสองช็อตมีจุดคอนทราสต์ที่หลากหลาย จัดลำดับการถ่ายโดยเริ่มจากถ่ายช็อตแรกให้สว่างน้อยกว่าปกติแล้วค่อยถ่ายช็อตต่อไปให้มีความสว่างปกตินั่นเอง

Keep rollors clean.

03

ควบคุม

เธอให้ความเห็นส่วนตัวว่า สำหรับเธอแล้วฟิล์มรุ่นนี้ไม่ค่อยเหมาะกับแสงจ้า อากาศร้อน หรือแสงธรรมชาติ (outdoor) แม้แต่ภาพที่ถ่ายง่ายๆ ด้วยโหมดอัตโนมัติและไม่เปิดแฟลชก็อาจจะเกิดเอฟเฟกต์ sunspot ได้ และในภาพผลลัพธ์สุดท้ายหลังดีเวลลอฟเสร็จภาพก็มักจะสว่างเกินไปอีกด้วย โดยเธอแนะนำว่า หากต้องการผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ควรถ่ายในตอนกลางคืน หรือถ่ายในสตูดิโอ เนื่องจากเราสามารถควบคุมแสงและอุณหภูมิได้ดีกว่านั่นเอง

light behind you.

ถ่ายภาพพอร์เทรตกับ Rayan Nohra

Rayan Nohra ช่างภาพสายพอร์เทรตประจำโมร็อกโกและเลบานอน ที่โดดเด่นด้วยเอกลักษณ์ประจำตัวคือการเล่นกับพื้นผิว สี องค์ประกอบภาพ และกระบวนการพิมพ์เพื่อสร้างภาพถ่ายพอร์เทรตเฉพาะบุคคลที่แท้จริง และนี่คือเคล็ดลับที่เขาแนะนำเพื่อสร้างภาพพอร์ตเทรตที่ยอดเยี่ยมด้วยฟิล์ม Green Duochrome

01

เพิ่มคอนทราสเพื่อความสวยงาม

ยิ่งมีเงาปรากฏในภาพเท่าไหร่ยิ่งดี มันจะทำให้ภาพจะดูโดดเด่นและมีความแตกต่างระหว่างแสงกับเงาอย่างชัดเจน

Shield it from light.

02

แสงจ้า vs แสงน้อย

เขาพบว่า ไม่ว่าจะถ่ายภาพในสภาพแสงใด สีที่ได้ก็ไม่ต่างกันมากนัก แต่อาจจะต้องหลีกเลี่ยงแสงจ้าในกรณีที่ต้องการเน้นรายละเอียดของภาพ หรือจะถ่ายแบบนั้นเลยก็ได้ถ้าต้องการเน้นเส้นและเงาที่เข้มๆ คมๆ

Shoot. Wait. Appreciate.

03

เข้าใกล้ซับเจค และเลือกฉากหลังที่เหมาะสม

ผลลัพธ์จะมีความน่าสนใจกว่าเมื่อขยับเข้าใกล้ซับเจคมากขึ้น (ประมาณหนึ่งช่วงแขน) โดยเลือกฉากหลังที่มีความโดดเด่นมีพลัง แต่ระวังอย่าให้เด่นจนแย่งความสนใจไปจากฉากหน้า

No two pictures are the same.

ถ่ายภาพสถาปัตยกรรม กับ Francesco Sambati

Francesco Sambati ช่างภาพและศิลปินชาวอิตาลี ที่มีผลงานโดดเด่นด้านการผสมผสานงานดิจิทัลโปรดักส์เข้ากับเข้ากับภาพถ่ายโพลารอยด์ได้อย่างลงตัว มาดูกันว่าเขามีเคล็ดลับอย่างไรในการถ่ายภาพสถาปัตยกรรมด้วยฟิล์ม Green Duochrome ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

01

เหลี่ยมมุมกับความคมชัด มุมต่ำและที่โล่ง

ในมุมของเขา หัวใจหลักของการถ่ายภาพตึก อาคาร หรือสิ่งปลูกสร้าง ก็คือ ต้องมีความคมชัด มีเหลี่ยมมีมุม ซึ่งอาคารลักษณะนี้มักจะสร้างเงาได้หลากหลายน่าสนใจ หรืออาจจะลองมองหาอาคารเตี้ยๆ ตามที่โล่งก็ดูมีพลังไม่น้อย อาคารลักษณะนี้จะทำให้เกิดเงาขนาดใหญ่บนพื้น ซึ่งเหมาะสำหรับถ่ายภาพด้วยฟิล์มรุ่นนี้

Hold it steady.

02

เงาคือเพื่อนที่ดีที่สุด

ส่วนมืดและเงาควรมีคอนทราสต์มากๆ แนะนำให้ถ่ายภาพมืดกว่าปกติเล็กน้อยเพื่อให้เงาเข้มขึ้น จะช่วยเพิ่มความเด่นชัดให้กับแนวเส้นของสถาปัตยกรรมได้เป็นอย่างดี แต่อาจจะต้องระวังไม่ให้มืดเกินไปเพราะจะทำให้เสียรายละเอียดส่วนสว่างไป

Polaroid loves light.

03

เลือกเวลาที่เหมาะสม

ฟิล์มใช้เวลาดีเวลลอฟค่อนข้างเร็วและไวต่อแสงมาก เพื่อให้ได้สีเขียวที่ดูสว่างกว่า ควรถ่ายภาพด้วยแสงเช้า หรือถ่ายตอนบ่ายแก่ๆ เพื่อให้ได้สีเขียวที่เข้มขึ้นอีก (ย้ำว่า ควรถ่ายภาพให้มืดกว่าปกติทั้งสองกรณี)

Store them safely away.

หมายเหตุ : แม้จะได้รับคำแนะนำที่เป็นประโยชน์อย่างมากข้างต้น แต่เนื่องจากฟิล์มรุ่นนี้เป็นรุ่นทดลองจึงไม่สามารถการันตีผลลัพธ์ที่มีความเสถียรได้ ดังนั้นจึงขายในราคาที่ถูกกว่าปกติ สินค้าไม่รับประกันการคืนเงินเกี่ยวกับดีเฟคต์หรือข้อบกพร่องใดๆ ขอแนะนำให้ตัดสินใจก่อนซื้อ

พร้อมจะลองสัมผัสความท้าทายแล้วหรือยัง? ถ้าพร้อมแล้ว อย่าลืมสั่งซื้อ Green Duochrome 600 film กับเรา Exclusive เฉพาะลูกค้าออนไลน์เท่านั้น และอย่าลืมติดตามศิลปินทั้งสามท่าน @francesco.sambati, @rayannohra, และ @saraheiseman ขอให้สนุกกับฟิล์มใหม่ครับ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้