เริ่มใช้งานผลิตภัณฑ์โพลารอยด์


ค้นหาบริการช่วยเหลือสำหรับผลิตภัณฑ์

ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำสำหรับการใช้ฟิล์ม Polaroid Originals เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจสุดสุด

1. การเก็บรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม (ฟิล์มที่ยังถูกบันทึกภาพ/ยังไม่ผ่านการใช้งาน)

การเก็บรักษาฟิล์ม Polaroid Originals อย่างถูกต้องและเหมาะสมจะช่วยให้มั่นใจได้ว่าคุณสมบัติทางเคมีของฟิล์มจะยังคงอยู่ในสภาพดี สามารถถ่ายทอดสีสัน ความคมชัด และรายละเอียดได้ดีที่สุด

ควรเก็บฟิล์มไว้ในกล่องบรรจุภัณฑ์ที่ปิดมิดชิด หลีกเลี่ยงการเก็บในสภาพอากาศร้อนและชื้น เราแนะนำให้เก็บในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิคงที่ระหว่าง 4 – 18°C ห้ามเก็บไว้ในช่องฟรีซเนื่องจากจะทำให้เกิดความเสียหาย และอาจทำให้การทำปฏิกิริยาของน้ำยาเคมีผิดพลาดระหว่างกระบวนการ

ฟิล์มของเราจะไม่สามารถทำงานได้ดีเท่าที่ควรในอุณหภูมิที่เย็นจัด ดังนั้นควรนำฟิล์มออกมาผึ่งไว้ในอุณหภูมิห้องก่อนใช้งานอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อให้ฟิล์มปรับสู่อุณหภูมิแวดล้อมก่อนใช้งาน

อ่านบนความฉบับเต็ม: How to store Polaroid film

2. วันหมดอายุ

เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดควรใช้ฟิล์ม Polaroid Originals ภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ผลิต (ดูวันเดือนปีที่ผลิตใต้บรรจุภัณฑ์)

อายุของฟิล์มมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเคมีซึ่งส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพของฟิล์มด้วย ในขณะที่การเก็บรักษาอย่างเหมาะสมอาจช่วยลดผลกระทบดังกล่าวได้ แต่วันหมดอายุก็เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ผลลัพธ์ไม่ตรงตามมาตรฐานคุณภาพของเรา การใช้ฟิล์มหมดอายุอาจจะยังใช้งานได้แต่คุณภาพจะลดลงกว่ามาตรฐานและอาจจะเกิดตำหนิต่างๆ ขึ้นได้ ซึ่งเราไม่สามารถรับการเรียกร้องการรับประกันได้

3. การบำรุงรักษาโรลเลอร์ของกล้อง

ตามหลักแล้ว ก่อนที่จะเกิดการเคลือบน้ำยาเคมีลงบนส่วนที่เป็น negative และ positive ของฟิล์ม แผ่นฟิล์มจะต้องเคลื่อนที่ผ่านโรลเลอร์คู่หนึ่งซึ่งอยู่ที่ฝาปิดช่องใส่ฟิล์มเสียก่อน หากโรลเลอร์สกปรกการฉาบน้ำยาเคมีลงบนแผ่นฟิล์มจะไม่สม่ำเสมอ นี่คือสาเหตุของการเกิดตำหนิที่ไม่พึงประสงค์บนรูปถ่ายโพลารอยด์ที่พบบ่อยที่สุด

ดังนั้น จึงควรตรวจเช็คทำความสะอาดของโรลเลอร์อยู่เสมอ โดยเปิดฝาปิดช่องใส่ฟิล์มของกล้องแล้วใช้ผ้านุ่มชุบน้ำหมาดๆ เช็ดทำความสะอาด เราแนะนำให้ตรวจเช็คโรลเลอร์ก่อนใส่ฟิล์มทุกครั้งและทำความสะอาดเป็นประจำแม้จะดูสะอาดแล้วก็ตาม

อ่านบนความฉบับเต็ม: How to clean your camera rollers

4. การชดเชยแสง

ฟิล์ม Polaroid Originals ส่วนใหญ่มีค่า ASA ที่ตรงกับฟิล์มดั้งเดิมสมัยก่อนอยู่แล้ว จึงจำเป็นต้องปรับชดเชยแสง ซึ่งประกอบด้วยฟิล์มรุ่นดังต่อไปนี้ : i-Type, 600, Spectra และฟิล์ม 8x10

ยกเว้นฟิล์ม Polaroid Originals SX-70 รุ่นปัจจุบันที่มีค่า ASA/ISO สูงกว่าโพลารอยด์ดั้งเดิมเล็กน้อย หมายความว่าฟิล์มรุ่นปัจจุบันจะไวแสงกว่าเราจึงขอแนะนำให้ปรับชดเชยแสงบนกล้องโพลารอยด์ลง 1/3 ในกรณีที่ถ่ายภาพในที่ที่มีแสงจ้าหรือมีแสงสว่างเพียงพอ

แต่หากต้องการใช้แฟลชให้ปรับชดเชยแสงไปที่พอดี (ตรงกลาง) โปรดทราบว่าแฟลชของกล้องโพลารอยด์มักใช้งานได้ในช่วง 1-2.5 เมตร

อ่านบทความฉบับเต็ม: Exposure Compensation on your Polaroid Camera

5. อุณหภูมิ

ฟิล์ม Polaroid Originals ให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในช่วงอุณหภูมิระหว่าง 13 – 28°C อุณหภูมินอกเหนือจากช่วงนี้จะส่งผลต่อฟิล์มอย่างมีนัยสำคัญทั้งในแง่ของ Development time (เวลาเกิดรูป) และสีสันที่ได้

การถ่ายภาพในที่ที่มีอากาศเย็น (ต่ำกว่า 13°C):

ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 13°C ผลลัพธ์ที่ได้มีแนวโน้มที่ภาพจะได้รับแสงมากเกินไป (over-exposed) ความเปรียบต่างของสีน้อย ค่อนข้างอมฟ้า การถ่ายภาพในที่อุณหภูมิต่ำๆ ควรเก็บฟิล์มที่ถ่ายแล้วในกระเป๋าเสื้อทันที (หรือที่อื่นที่ยังอยู่ใกล้กับร่างกาย) ควรพกกล้องไว้ใกล้กับตัวเสมอเพื่อให้กล้องและฟิล์มที่อยู่ด้านในอยู่ในอุณหภูมิที่ใช้งานได้

การถ่ายภาพในที่ที่มีอากาศร้อน (> 28°C):

ที่อุณหภูมิสูงกว่า 28°C ผลลัพธ์ที่ได้มีแนวโน้มที่โทนสีของภาพจะอมเหลือง/แดง หากต้องการถ่ายภาพในที่อุณหภูมิสูงควรเก็บฟิล์มไว้ในตู้เย็นก่อนนำมาใช้งาน ผู้ใช้สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบจากความร้อนให้น้อยที่สุดได้โดยปล่อยให้ฟิล์ม Develop ตัวเองในที่เย็น เช่น ห้องแอร์, ถุงกันความร้อน หรือใกล้เครื่องดื่มเย็นๆ (ระวังอย่าให้โดนความชื้น)

อ่านบทความฉบับเต็ม: How temperature affects Polaroid film

6. ฟิล์มชีลปกป้องฟิล์มจากแสง!

ฟิล์ม Polaroid Originals ค่อนข้างไวต่อแสงแม้ในขณะที่ถูกคายออกจากกล้อง โดยเฉพาะในช่วง 2-3 วินาทีแรกควรให้รูปอยู่ใต้แผ่นฟิล์มชีลก่อนเพื่อให้มีเวลาเพียงพอสำหรับเคลือบน้ำยาเคมีสีน้ำเงินได้ทั่วทั้งรูป

ใช้เวลาเพียงเล็กน้อยจึงสามารถนำฟิล์มออกจากใต้แผ่นฟิล์มชีลด์ได้ แต่อย่างไรก็ตามมันจะยังคงไวต่อแสง! จึงควรป้องกันจากแหล่งกำเนิดแสงด้วยวีธีต่อไปนี้

  • คว่ำฟิล์มลงบนโต๊ะ
  • เก็บไว้ในกระเป๋าเสื้อ
  • เก็บไว้ในกล่องฟิล์มเปล่า

การป้องกันฟิล์มในระหว่างการ Develop ของฟิล์ม จะช่วยให้แน่ใจได้ว่าภาพที่ได้จะมีสีสันที่อิ่มสวย และรายละเอียดที่คมชัดยิ่งขึ้น (ดูเวลาของแต่ละรุ่นที่ด้านหลังบรรจุภัณฑ์)

อ่านบนความฉบับเต็ม: Shielding your photos from light

7. การจัดเก็บที่เหมาะสมสำหรับฟิล์มที่ถูกบันทึกภาพแล้ว

รูปโพลารอยด์เรียกได้ว่าเป็นรูปที่มีเพียงใบเดียวเดียวในโลก ดังนั้นอาจจะต้องการการดูแลมากเป็นพิเศษ ด้วยการเก็บรูปถ่ายเหล่านั้นไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิปกติและพ้นจากแสงแดด

30 วันหลังจากบันทึกภาพ:

เพื่อให้เก็บได้นานยิ่งขึ้น ในช่วง 30 วันแรกการเก็บรูปถ่ายโพลารอยด์ไม่ควรถูกบีบอัดหรือถูกซีล (เช่น ในอัลบั้มรูป) จะช่วยให้รูปถ่ายแห้งสนิทและกระบวนการทางเคมีหยุดโดยสิ้นเชิง

30+ วันหลังจากบันทึกภาพ:

หลังจากครบ 30 วันแล้วสามารถเก็บรูปถ่ายโพลารอยด์ในอัลบั้มได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงการเก็บในที่ชื้นและเสี่ยงต่อการสัมผัสกับแสงแดดหรือรังสียูวี -- หากต้องการใส่กรอบให้รูปถ่ายโพลารอยด์เราขอแนะนำให้เลือกใช้กรอบที่สามารถป้องกันรังสียูวีได้

อ่านบทความฉบับเต็ม: How to store Polaroid film

8. รีไซเคิลตลับฟิล์ม

เนื่องจากเราไม่สามารถนำตลับฟิล์มเปล่าจากผู้ใช้กลับมา Re-use หรือ Recycle ได้ -- ต้องขออภัยเป็นอย่างยิ่ง!

เราจึงขอแนะนำว่าให้รีไซเคิลตลับฟิล์มเปล่าตามกฎหมายในแต่ละพื้นที่ของผู้ใช้ เช่นกรณีที่ใช้ฟิล์ม 600, ฟิล์ม Spectra หรือฟิล์ม SX-70 โปรดจำไว้ว่าตลับฟิล์มรุ่นเหล่านี้บรรจุแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนอยู่ด้วย ผู้ใช้ควรแยกส่วนที่เป็นพลาสติก ส่วนที่เป็นสปริงโลหะ และส่วนที่เป็นแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนออกจากกันก่อนทิ้ง ดูคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการดำเนินการอย่างปลอดภัยในลิงก์ด้านล่าง

อ่านบทความฉบับเต็ม: How to recycle your empty film pack

กำลังหาฟิล์มสำหรับกล้องโพลารอยด์แต่ไม่แน่ใจว่าต้องใช้ฟิล์มอะไร ตารางด้านล่างนี้ช่วยคุณได้ — [อัพเดทล่าสุด กันยายน 64]

ตารางเปรียบเทียบฟิล์ม Polaroid

ตารางเปรียบเทียบฟีเจอร์ของกล้องโพลารอยด์แต่ละรุ่น

เนื้อหาต่อไปนี้จะช่วยให้เข้าใจวิธีการใช้งานและข้อควรระวังสำหรับหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดต่างๆ ที่พบบ่อยได้

1. การเตรียมกล้องและฟิล์ม

อันดับแรก : ชาร์จแบตฯ กล้องให้เต็ม (i-Type) แล้วบรรจุฟิล์ม

เรียนรู้เกี่ยวกับกล้องได้จากคู่มือการใช้งาน : คลิ๊ก

ถ้ายังไม่ได้บรรจุฟิล์ม อยากรู้ว่าต้องใช้ฟิล์มแบบไหนลองดูที่ : คู่มือการเลือกฟิล์มโพลารอยด์

ดูวิธีการบรรจุฟิล์มที่นี่

2. การเล็งและการจัดเฟรมให้ถูกต้อง

กล้องโพลารอยด์มักจะมีช่องมองภาพแยกกับเลนส์ ดังนั้นสิ่งที่ช่างภาพมองเห็นกับสิ่งที่กล้องมองเห็นจะมีมุมมองที่ต่างกันเล็กน้อย เรียกว่า parallax ช่างภาพจำเป็นต้องปรับแก้การเล็งใหม่เพื่อให้องค์ประกอบภาพถูกต้อง

โดยเฉพาะเมื่อถ่ายภาพวัตถุระยะใกล้ เช่น การภาพพอร์เทรต หลังจากจัดองค์ประกอบได้ตามที่ต้องการ จากนั้นให้ปรับแก้เพิ่มเติมโดยเล็งกล้องต่ำลงพร้อมแพนกล้องไปทางขวาเล็กน้อย

สำหรับการถ่ายภาพวิวจะเกิด parallax น้อยมาก จึงไม่จำเป็นต้องปรับแก้ใดๆ

ข้อควรระวัง ช่างภาพควรเล็งไปยังวัตถุที่ต้องการอย่างถูกต้อง ไม่เช่นนั้นอาจจะได้ภาพที่มีฉากหลังคมชัดกว่าวัตถุฉากหน้าก็เป็นได้

3. การถ่ายภาพในที่ร่ม (ใช้แฟลช)

เมื่อถ่ายภาพวัตถุในที่ร่มโดยไม่มีฉากหลังหรือกำแพงอยู่ด้านหลัง พื้นหลังของภาพจะมืด ซึ่งเป็นเรื่องปกติของการถ่ายภาพแอนะล็อก สาเหตุเกิดจากแสงแฟลชไปสะท้อนวัตถุแรกที่กระทบแล้วกล้องจับภาพวัตถุนั้นได้ทันที ในขณะที่แสงจากฉากหลังสะท้อนมาถึงกล้องภายหลังจากม่านชัตเตอร์ปิดและบันทึกภาพไปแล้ว ข้อควรจำ: การทำงานของแฟลชจะมีประสิทธิภาพลดลงเมื่อระยะห่างเพิ่มขึ้น ดังนั้น ถ้าต้องการให้ฉากหลังมีแสงสว่างเพียงพอไม่มืดดำควรให้วัตถุที่ต้องการถ่ายอยู่ด้านหน้าฉากในระยะที่เหมาะสม

การถ่ายภาพในที่ร่มโดยใช้แฟลช ควรเล็งไปที่วัตถุอย่างถูกต้อง หากเล็งกล้องไกลออกไปแล้วกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง ตัววัดแสจะคำนวณระยะทางและปรับการรับแสงให้เหมาะสมกับวัตถุที่กล้องกำลังเล็ง ทำให้วัตถุที่ต้องการถ่ายจริงๆ สว่างเกินไป และอาจโฟกัสพลาดอีกด้วย

4. การถ่ายภาพในที่ร่ม (ไม่ใช้แฟลช)

แสงคือคู่หูที่ดีที่สุดในการถ่ายภาพอินสแตนท์แอนะล็อก ควรเปิดแฟลชทุกครั้ง และควรจำระยะทำการของแฟลชให้ขึ้นใจ เพื่อหลีกเลี่ยงภาพที่มืดเนื่องจากวัตถุอยู่นอกระยะแฟลช

หากต้องการถ่ายภาพโดยไม่ใช้แฟลช สภาพแสงโดยรวมควรสว่างเพียงพอและใช้ขาตั้งกล้องหรือถือกล้องให้นิ่งที่สุด เพราะอาจเสี่ยงเกิดภาพเบลอได้ (เนื่องจากถ้าไม่เปิดแฟลช กล้องจะเปิดรับแสงนานขึ้น นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมจึงไม่ควรขยับจนกว่าภาพจะถูกฟีดออกจากกล้องเรียบร้อยแล้ว) การถ่ายภาพในที่ร่ม ภาพอาจจะมีโทนเหลือง (ชมพู/น้ำเงิน) ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิสีของแหล่งกำเนิดแสงภายในอาคาร อย่างไรก็ตาม เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดควรเปิดแฟลชเสมอ

5. การถ่ายภาพกลางแจ้ง

ฟิล์มโพลารอยด์มีช่วงไดนามิกที่ค่อนข้างแคบ จึงเป็นไปได้ยากที่จะถ่ายภาพกลางแจ้งให้มีรายละเอียดที่ครบทั้งส่วนมืดและส่วนสว่าง โดยถ้ากล้องคำนวณการเปิดรับแสงที่ส่วนมืดของภาพจะทำให้รายละเอียดบางส่วนของส่วนสว่างหายไป (over exposure) กลับกัน เมื่อส่วนสว่างของภาพเปิดรับแสงพอดีส่วนมืดของภาพจะเปิดรับแสงน้อยเกินไป เช่น ในการถ่ายภาพวิวท้องฟ้าสว่างพอดีแต่พื้นดินกลับมืดกว่าปกติ หรือพอพื้นดินสว่างท้องฟ้ากลับขาวโพลนไปหมด ผลลัพธ์คล้ายกันนี้อาจจะเกิดกับกรณีที่ช่างภาพถ่ายภาพในเงามืดโดยมีแหล่งกำเนิดแสงขนาดใหญ่อยู่ด้านหน้าด้วยเช่นกัน

เมื่ออยู่กลางแจ้งและวัตถุอยู่นอกระยะแฟลช ควรปิดแฟลชเพื่อป้องกันไม่ให้กล้องปรับรูรับแสงที่ทำให้ภาพเปิดรับแสงน้อยเกินไป ถ้าเป็นวันที่มีแดดจ้าให้ใช้แสงแดดเป็นแหล่งกำเนิดแสงหลัก โดยให้ดวงอาทิตย์อยู่ด้านหลังของช่างภาพ จากนั้นหันหน้าเข้าหาวัตถุเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดเงา ปิดแฟลชและถือกล้องให้นิ่งที่สุด

6. การถ่ายภาพด้วย self-timer

การใช้โหมดตั้งเวลาถ่ายภาพ (self-timer) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดช่างภาพควรอยู่ด้านหลังกล้องในขณะที่กำลังตั้งค่า ห้ามยืนบังหน้ากล้อง

7. การถ่ายภาพหน้ากระจก

การถ่ายภาพหน้ากระจกควรมีแสงสว่างที่เพียงพอ หลีกเลี่ยงการสะท้อนแสงไฟจากกระจกโดยตรง และอย่าลืมปิดแฟลชก่อน เพราะการสะท้อนของแสงจะทำให้ตัววัดแสงของกล้องทำงานผิดพลาด และกล้องอาจจะเปิดรับแสงน้อยเกินไป ทำให้ภาพมืดหรือดำมาก

หากจำเป็น ช่างภาพสามารถปรับเพิ่ม/ลดแสงที่ตัวกล้องได้ตามความเหมาะสม

8. ถ่ายภาพให้หมดทั้งแพ็คภายใน 1 เดือน

เมื่อบรรจุฟิล์มในกล้องแล้วควรถ่ายภาพให้หมดภายใน 1 เดือน เพื่อสีสันและคอนทราสต์ที่ดีกว่า โดยเมื่อผ่านช่วงเวลานี้ไปฟิล์มจะเกิดการออกซิไดซ์ทำให้สีสันสดใสน้อยลง

ควรเก็บกล้องไว้ในที่แห้งและเย็นเสมอเมื่อมีฟิล์มอยู่ในกล้อง

9. ฟิล์มมีความไวต่ออุณหภูมิ

หากต้องการหลีกเลี่ยงภาพถ่ายที่มีโทนสีเขียวหรือโทนสีแดงมากเกินไป ควรเก็บฟิล์มและกล้องที่อุณหภูมิต่ำหรือสูงกว่า โดยพิจารณาจากเงื่อนไขนี้

  • อุณหภูมิต่ำกว่า (<13°C) ภาพจะให้โทนสีเขียว
  • อุณหภูมิสูงกว่า (> 28°C) ภาพจะให้โทนสีแดง

ทั้งนี้การเล่นกับอุณหภูมิสีก็เป็นอีกเสน่ห์หนึ่งของการถ่ายภาพโพลารอยด์ด้วย ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ อุณหภูมิส่งผลต่อฟิล์มอย่างไร?

10. ปกป้องฟิล์มจากแสง

จริงอยู่ว่าการป้องกันไม่ให้ฟิล์มโดนแสงก่อนถ่ายภาพเป็นสิ่งสำคัญมาก แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ ช่างภาพจำเป็นต้องปกป้องฟิล์มจากแสงในขณะที่ฟิล์มถูกฟีดออกมาจากกล้องด้วยเช่นกัน วิธีที่ดีที่สุดคือ ปล่อยฟิล์มไว้ใต้แผ่นฟิล์มชีลด์ประมาณ 10 วินาที แล้วค่อยดึงออกมาและเก็บให้พ้นแสงจนกว่าจะดีเวลลอปเสร็จ เช่น เก็บในกระเป๋าเสื้อ หรือคว่ำทิ้งไว้บนโต๊ะ

11. วิธีถอดกลักฟิล์มออกจากกล้อง

เมื่อต้องการถอดกลักฟิล์มเปล่าออกจากกล้อง สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการดึงแถบสติ๊กเกอร์ที่ติดอยู่ด้านล่างของกลักฟิล์มซึ่งมันถูกออกแบบมาเพื่อจุดประสงค์นี้

12. กลักฟิล์มเปล่าทิ้งอย่างไร?

เมื่อถ่ายภาพครบทั้ง 8 ภาพแล้ว ตอนนี้ช่างภาพจะเหลือเพียงกลักฟิล์มเปล่าๆ แล้วต้องทำอะไรกับมัน? อ่านวิธีการทิ้งอย่างถูกต้องที่นี่

  1. ใช้นิ้วโป้งบิดเปิดบริเวณช่องที่ฟิล์มออกมา เพื่อขยายช่องให้ใหญ่ขึ้น
  2. ถอดสปริงด้านในออกมาตามช่องเปิด – ระวัง! ขอบสปริงบาดมือ 
  3. ถอดแบตเตอรี่ออก (ถ้ามี) – ปิดอิเล็กทรอนิกคอนแท็กด้วยเทปกาวทันที
  4. แยกทิ้งตลับพลาสติก สปริงโลหะ และแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน

หมายเหตุ : จุดทิ้งแบตเตอรี่มักจะอยู่ตามร้านค้าหรือทางเข้าห้างสรรพสินค้า หรือจุดบริการอื่นๆ

13. การดูแลรักษาภาพถ่าย

เมื่อภาพถูกฟีดออกมาและดีเวลลอปจนเกือบจะเสร็จสมบูรณ์แล้ว ยังมีข้อมูลสำคัญบางอย่างที่ควรรู้เกี่ยวกับวิธีการจัดเก็บ เพื่อหลีกเลี่ยงการเฟดจางก่อนเวลาอันควร ช่วยให้ภาพถ่ายอยู่กับเราได้นานยิ่งขึ้น อ่านวิธีเก็บรักษาภาพถ่ายโพลารอยด์ได้ที่นี่

14. อย่าเอาฟิล์มออกจากกล้องจนกว่าจะถ่ายเสร็จ

บางทีช่างภาพอาจเกิดไอเดียอยากจะใช้งานสลับไปมาระหว่างฟิล์มสีกับฟิล์มขาวดำโดยที่ในกล้องยังมีฟิล์มเหลืออยู่ ไม่แนะนำให้ทำแบบนั้น เพราะจะทำให้ฟิล์มที่เหลือทำปฏิกิริยากับแสงเสียหายและไม่สามารถนำกลับมาใช้งานได้อีก ควรถ่ายให้ครบทั้ง 8 ภาพก่อนเปลี่ยนฟิล์มแพ็คใหม่

15. นี่คือฟิล์มอินสแตนท์แอนะล็อก ไม่ใช่ภาพถ่ายดิจิทัล

คำว่า "นี่ไม่ใช่ภาพถ่ายดิจิทัล แต่เป็นการถ่ายภาพในแบบของอินสแตนท์แอนะล็อก" นั้นสื่อความหมายได้ 2 ประเด็นหลักๆ ดังต่อไปนี้

  1. ไม่สามารถเปรียบเทียบภาพถ่ายดิจิทัลกับภาพถ่ายจากกล้องโพลารอยด์ได้ (หรือรวมถึงกล้องแอนะล็อกและกล้องฟิล์มอื่นๆ) เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างที่แตกต่างกัน ความแตกต่างระหว่างภาพถ่ายดิจิทัลกับภาพถ่ายแอนะล็อกก็คล้ายกับการฟังเพลงดิจิทัลอย่าง MP3 กับการฟังเพลงจากแผ่นเสียงไวนิลนั่นแหละ ซึ่งการถ่ายภาพแบบดิจิทัลนั้นมีความสมบูรณ์แบบและไร้ที่ติกลับกันความสวยงามของการถ่ายภาพแอนะล็อกนั้นสิ่งหนึ่งก็คือความไม่สมบูรณ์แบบนั่นเอง มันมีชุดถาดสีในรูปแบบของตัวเอง รวมถึงมีพื้นผิวและลุคเฉพาะตัว ซึ่งแตกต่างจากภาพดิจิทัล
  2. กล้องดิจิทัล (รวมถึงสมาร์ทโฟนในปัจจุบัน) สร้างความคุ้นชิ้นให้ผู้คนโดยไม่รู้ตัว ในขณะที่เรากำลังเล็งกล้องดิจิทัลไปที่วัตถุใดๆ กล้องจะมีการจัดการปรับเปลี่ยนปัจจัยเล็กๆ น้อยๆ ภายในโดยอัตโนมัติ โดยที่เราแทบไม่ต้องคิดถึงเรื่องเหล่านี้เลย เช่น การเปิดรับแสง, รูรับแสง, คอนทราสต์ และอื่นๆ ...เรียกได้ว่าแทบไม่มี อะไรเหล่านี้ที่กล้องอินสแตนท์ที่เป็นระบบแอนะล็อกทำให้เราได้ เว้นแต่ว่าช่างภาพจะทำเอง

Polaroid Film

เคยสงสัยหรือไม่ว่าตัวเลขหลักที่ด้านหลังของฟิล์มโพลารอยด์คืออะไร?


ที่ด้านหลังของฟิล์มโพลารอยด์ทุกใบ (ยกเว้น Go) จะมีตัวเลข 10- 11 หลักอยู่ ตัวเลขเหล่านี้เปรียบเสมือนสูติบัตรของฟิล์มเพื่อใช้ระบุตัวตนของฟิล์มใบนั้นๆ ใช่ครับ...เพราะเป็นแอนะล็อกตัวเลขเหล่านี้จึงช่วยเราได้แน่นอนตอนที่เราลืมไปแล้วว่าใช้ฟิล์มอะไรถ่าย แค่บอกไม่ได้ว่าใช้กล้องอะไรถ่ายเท่านั้นเอง (ฮา)

เอาล่ะก่อนอื่นมารู้จักตัวเลขเหล่านี้กันก่อนดีกว่าครับ :


02 : ฟิล์มขาวดำ SX-70
32 : ฟิล์มขาวดำ 600, Spectra และ 8x10
70/72/73/75 : ฟิล์มสี SX-70
80/82/83/85 : ฟิล์มสี 600, Spectra และ 8x10
33 : ฟิล์มขาวดำ i-Type
81/84/86 : ฟิล์มสี i-Type

สำหรับตัวเลข 11 หลัก (ฟิล์มที่ผลิตหลัง 04/18 จะใช้ตัวเลข 11 หลัก)

  • หลักที่ 1 และ 2 : รหัสเครื่องจักรที่ใช้ผลิต
  • หลักที่ 3 : ระบุกะของวันที่ผลิต (ปกติจะทำงาน 2 กะต่อวัน)
  • หลักที่ 4 และ 5 : วันที่ผลิต
  • หลักที่ 6 และ 7 : เดือนที่ผลิต
  • หลักที่ 8 และ 9 : ปีที่ผลิต
  • หลักที่ 10 และ 11 : ชนิดของฟิล์ม
.
สำหรับตัวเลข 10 หลัก
  • หลักที่ 1 และ 2 : เดือนที่ผลิต
  • หลักที่ 3 และ 4 : ปีที่ผลิต
  • หลักที่ 5 และ 6 : รหัสเครื่องจักรที่ใช้ผลิต
  • หลักที่ 7 และ 8 : ชนิดของฟิล์ม
  • หลักที่ 9 และ 10 : วันที่ผลิต

 

ในกรณีที่จำเป็นต้องติดต่อกับเราในกรณีที่พบปัญหาเกี่ยวกับฟิล์ม การแจ้งตัวเลขเหล่านี้สำคัญมาก มันสามารถใช้เพื่อตรวจสอบและค้นหาสาเหตุที่เกิดได้

สำหรับการถ่ายภาพด้วยฟิล์มโพลารอยด์ สิ่งที่ควรรู้คือ ฟิล์มจะทำงานได้ดีที่สุดที่อุณหภูมิปานกลาง ระหว่าง 13 – 28°C อุณหภูมินอกเหนือจากนี้จะส่งผลต่อฟิล์มอย่างมีนัยสำคัญ มีความคาดเดาได้ยาก ในแง่ของเวลาเกิดภาพ (development time), สีสัน และความอิ่มตัวของสี

ถ่ายภาพขณะสภาพอากาศเย็น (< 13°C):

ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 13°C ภาพถ่ายมักจะมีการเปิดรับแสงมากเกินไป (overexposure) คอนทราสต์ของสีต่ำและมีโทนสีเขียว การถ่ายภาพที่อุณภูมิต่ำแบบนี้ควรเก็บภาพที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการดีเวลลอปไว้ในกระเป๋าเสื้อหรือให้อยู่ใกล้กับร่างกายมากที่สุด และควรถือกล้องไว้ใกล้ตัวอีกด้วย เพื่อให้ฟิล์มและกล้องทำงานในอุณหภูมิที่อบอุ่นและเหมาะสม

จะดีมากถ้าเก็บทั้งกล้องและรูปถ่ายไว้ข้างในเสื้อกันหนาวและให้อยู่ใกล้ตัวไว้ ระวังอย่าให้ภาพงอในขณะที่กำลังดีเวลลอป

ถ่ายภาพขณะสภาพอากาศร้อน  (> 28°C):

ที่อุณหภูมิสูงกว่า 28°C ภาพสีมีแนวโน้มที่จะติดโทนเหลือง/แดง การถ่ายภาพในที่ที่มีอุณหภูมิสูงควรเก็บแพ็คฟิล์มไว้ในตู้เย็นก่อนนำออกมาใช้ สามารถลดผลกระทบที่เกิดจากความร้อนได้ด้วยการปล่อยภาพให้ดีเวลลอปในที่เย็น เช่น ห้องที่มีอุณภูมิเย็นกว่า ถุงหุ้มฉนวน หรือใต้แก้วเครื่องดื่มเย็นๆ ก็ช่วยได้ (แค่ต้องระวังอย่าให้โดนความชื้น!) อ่านเคล็ดลับการถ่ายภาพในวันที่อากาศร้อน

อ่านวิธีดูแลรักษาฟิล์มโพลารอยด์อย่างถูกต้องได้ที่นี่ คลิ๊ก

ฤดูร้อน! สำหรับบางประเทศถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการถ่ายภาพโพลารอยด์พอสมควร เพราะมีแสงธรรมชาติและแดดที่ดีเหมาะแก่การออกถ่ายภาพ outdoor ซึ่งออกจะตรงข้ามกับบ้านเรามากๆ โดยเฉพาะเมื่ออุณหภูมิมีผลกับฟิล์มโพลารอยด์โดยตรงเนื่องจากฟิล์มมีความเซนซิทีฟและค่อนข้างไวต่อความร้อน ยิ่งช่วงเดือนเมษายนนี้ยิ่งต้องพกฟิล์มกันอย่างระมัดระวังที่สุด พยายามหลีกเลี่ยงความร้อนและเก็บฟิล์มในที่ที่มีอากาศเย็นเสมอ เพื่อผลลัพธ์ที่ดี

ในช่วงเวลาที่ฟิล์มกำลังค่อยๆ ปรากฏภาพ (develop) นั้น คือช่วงที่เกิดปฏิริยาเคมีหลายอย่างขึ้นภายใน โดยปฏิกิริยาเหล่านี้เป็นปฏิกิริยาที่เปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิ ฟิล์มโพลารอยด์ถูกออกแบบมาให้ทำงานได้ดีที่สุดที่อุณหภูมิ 13-28 °C อุณหภูมิที่สูงหรือต่ำกว่านี้จะให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันออกไป ภาพถ่ายที่สัมผัสกับอุณหภูมิสูงในขณะที่กำลังดีเวลลอปอาจมีความซีดจางกว่าปกติและติดโทนส้ม ด้านล่างคือภาพตัวอย่างจากอุณหภูมิแวดล้อมที่สูงกว่า 28 °C

ภาพโดย Deborah Santarpia
ภาพมีความอมแดงและเหลือง, ค่อนข้างโอเวอร์ (over-exposure)

ภาพโดย Nigel Willox
คอนทราสต์ต่ำ

นี่คือเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ สำหรับช่วยให้ทุกคนถ่ายภาพโพลารอยด์ได้ดีขึ้นในช่วงที่อากาศบ้านเรากำลังร้อนแบบนี้

  • เก็บแพ็คฟิล์มในที่เย็นก่อนนำออกมาใช้
  • ปล่อยให้ฟิล์มดีเวลลอปในสภาพแวดล้อมที่เย็น
    • ภายในห้องแอร์ หรือวางไว้ใต้แก้วเครื่องดื่มเย็นๆ สักแก้วก็ช่วยได้ หรืออีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีมากคือมีคูลเลอร์แพ็คติดกระเป๋าไว้เพื่อความสบายใจกว่า แต่อาจจะต้องระวังเรื่องความชื้นด้วย
  • ถ่ายภาพให้มืดกว่าปกติเล็กน้อย
  • ใช้ฟิลเตอร์สีเหลืองในการถ่ายภาพด้วยฟิล์มขาวดำ
    • โดยทั่วไปแล้วการใช้ฟิลเตอร์สีเหลือง (ส้ม, แดง) จะช่วยเพิ่มคอนทราสต์ให้ภาพขาวดำได้
    • ฟิลเตอร์สำหรับกล้อง Polaroid Go คลิ๊ก

Polaroid Go

คู่มือการใช้งานและ Quick Start Guide สำหรับกล้อง Polaroid Go พร้อมสำหรับดาวน์โหลดด้านล่าง


Quick Start Guide

TH - Polaroid Go Quick Start Guide

Polaroid Now

คู่มือการใช้งานและ Quick Start Guide สำหรับกล้อง Polaroid Now พร้อมสำหรับดาวน์โหลดด้านล่าง

 

Quick Start Guide

TH - Polaroid Now Quick Start Guide

คู่มือการใช้งานและ Quick Start Guide สำหรับ Polaroid Now Generation 2 พร้อมสำหรับดาวน์โหลดด้านล่าง

 

Quick Start Guide

TH - Polaroid Now Generation 2 Quick Start Guide

Polaroid Now+

คู่มือการใช้งานและ Quick Start Guide สำหรับกล้อง Polaroid Now+ พร้อมสำหรับดาวน์โหลดด้านล่าง

 

Quick Start Guide

TH - Polaroid Now+ Quick Start Guide

คู่มือการใช้งานและ Quick Start Guide สำหรับ Polaroid Now+ Generation 2 พร้อมสำหรับดาวน์โหลดด้านล่าง

 

Quick Start Guide

TH - Polaroid Now+ Generation 2 Quick Start Guide

Polaroid Hi•Print

คู่มือการใช้งานและ Quick Start Guide สำหรับ Polaroid Hi•Print พร้อมสำหรับดาวน์โหลดด้านล่าง

 

Quick Start Guide

TH - Polaroid Hi•Print Quick Start Guide

Polaroid Music

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้