4706 จำนวนผู้เข้าชม |
กำลังตามหาฟิล์มโพลารอยด์มาใช้กับกล้องในมือแต่ไม่แน่ใจว่าต้องใช้ฟิล์มแบบไหนใช่หรือไม่? บทความนี้จะเป็นเนื้อหาคร่าวๆ เกี่ยวกับฟิล์มเพื่อเป็นไอเดียในการตัดสินใจ
ปัจจุบัน Polaroid ผลิตฟิล์มอินสแตนท์ 5 ประเภทด้วยกัน ซึ่งกล้องบางรุ่นอาจใช้ฟิล์มข้ามฟอร์แมทได้แต่บางรุ่นไม่ วิธีที่ดีที่สุดในการระบุประเภทของฟิล์มที่ใช้กับกล้องที่มีคือ เปิดฝาปิดช่องบรรจุฟิล์ม (film door) แล้วมองหาสติ๊กเกอร์ที่ระบุประเภทฟิล์มที่เหมาะสมกับกล้องนั้น ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะเป็นฟิล์มประเภทดังต่อไปนี้ :
อ่านรายละเอียดคร่าวๆ เกี่ยวกับฟิล์มทั้งหมดได้ที่ด้านล่างนี้
Polaroid ผลิตฟิล์ม i-Type สำหรับใช้กับกล้องโพลารอยด์รุ่นใหม่ๆ โดยเฉพาะ ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างฟิล์ม i-Type กับฟิล์ม 600 คือ ไม่มีแบตเตอรี่อยู่ในกลักฟิล์ม ซึ่งหมายถความว่าฟิล์ม i-Type จะไม่ทำงานร่วมกับกล้องโพลารอยด์รุ่นเก่า (Vintage Polaroid Cameras) สำหรับกล้องโพลารอยด์รุ่นผลิตใหม่จะมีแบตเตอรี่แบบชาร์จไฟได้ในตัวอยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องมีแบตเตอรี่ในกลักฟิล์มเพื่อจ่ายไฟให้กับตัวกล้องนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม หากต้องการใช้ฟิล์ม 600 กับกล้องโพลารอยด์รุ่นผลิตใหม่ เช่น ฟิล์ม 600 รุ่นพิเศษลายโดนใจ ก็สามารถใช้งานได้เช่นกัน
ฟิล์ม 600 เป็นฟอร์แมทที่พบบ่อยที่สุดมักใช้สำหรับกล้องวินเทจ หรือใช้กับกล้องซีรี่ส์ 600 ซึ่งเป็นซีรี่ส์ยอดนิยมของโพลารอยด์สมัยก่อน ซึ่งส่วนใหญ่จะมีตัวเลขในช่วง 600 ปรากฏในชื่อ (เช่น Sun 660, LM630, SLR680, Impulse, Impulse AF ฯลฯ) ฟิล์ม 600 มีจุดเด่นที่สามารถมองเห็นได้ง่ายๆ คือแพ็กเกจที่มีสีฟ้าชัดเจน นอกจากนี้ฟิล์ม 600 ยังสามารถใช้งานร่วมกับกล้อง Polaroid i-Type ได้อีกด้วย ดังนั้นหากต้องการใช้ฟิล์ม 600 รุ่นพิเศษกับกล้อง NOW+ ก็ใช้งานได้สบายๆ ไม่มีปัญหาเลย
กล้อง SX-70 จะมีระบบการทำงานที่แตกต่างจากกล้องโพลารอยด์อื่นเล็กน้อย ดังนั้นจึงต้องใช้ฟิล์มที่ตรงรุ่นเท่านั้น ข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดของฟิล์ม SX-70 คือ ฟิล์มมีความไวแสง ASA 160 ซึ่งน้อยกว่าฟิล์ม 600 1/4 เท่า ดังนั้นจึงต้องการแสงมากขึ้นเพื่อให้ได้ภาพที่ดี (ถ่ายกลางแจ้ง) กล้องแบบพับได้ (folding-type) ทั้งหมดใช้ฟิล์ม SX-70 (ยกเว้นรุ่น SLR 680/690)
ฟิล์ม SX-70 มีเฉพาะรุ่นที่เป็นฟิล์มสี/ขาวดำ กรอบขาวคลาสสิกเท่านั้น หากผู้ใช้ต้องการใช้ฟิล์ม 600 รุ่นพิเศษต่างๆ กับกล้อง SX-70 ก็สามารถทำได้เช่นกัน เพียงแต่จำเป็นต้องใช้ร่วมกับฟิลเตอร์ ND เพื่อลดแสงส่วนเกิน เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับฟิลเตอร์ ND คลิ๊ก หรือเรียนรู้วิธีติดตั้งฟิลเตอร์ ND คลิ๊ก